Happy Workplace คืออะไร

Happy body Happy heart Happy relax Happy brain Happy money Happy soul Happy family Happy society
Happy Workplace

องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งเสริมประสิทธิภาพและภาพลักษณ์ขององค์กร พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนเพื่อมุ่งสู่การสร้างสังคมที่ดี เน้นการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน


องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) คือองค์กรที่มีกระบวนการ สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการลดปัจจัยเสี่ยง และสร้างปัจจัยเสริมด้านสุขภาพให้แก่บุคลากร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาวะที่ดีใน 4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม ตามแนวทางความสุข 8 ประการ




แนวคิด 8 ความสุข (Happy 8)

องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) คือกระบวนการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีสุขภาวะและประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสมดุล โดยให้ความสำคัญกับ "บุคลากร" เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และนำพาองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้แนวทาง ความสุข 8 ประการ (Happy 8) เป็นพื้นฐานในการบริหารชีวิตและการทำงาน เพื่อรับมือสถานการณ์ปัจจุบันที่คนวัยทำงานต้องเผชิญความท้าทายหลากหลายรูปแบบ จนเกิดสภาวะกดดันและตึงเครียดทั้งทางกายและใจ แนวทาง องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) จึงออกแบบมาเพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตของ "บุคลากร" ในองค์กรทุกกลุ่ม





ประโยชน์ของการสร้าง "องค์กรสุขภาวะ"

ทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในการทำงาน เป็นการลงทุนใน "บุคลากร" ที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตด้านผลกำไร เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน และพัฒนาความเป็นเลิศทั้งภายในและภายนอกจากวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ซึ่งนำไปสู่สังคมที่มีสุขภาวะอย่างยั่งยืน


คนทำงาน ประโยชน์ต่อคนทำงาน  

องค์กร ประโยชน์ต่อองค์กร  

ชุมชนและสังคม ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม




เพิ่มผลิตภาพและผลประกอบการ (Productivity)  คนทำงาน

เพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร  คนทำงาน

สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในทีม  องค์กร ชุมชนและสังคม

เสริมสร้างความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กร (Engagement)  คนทำงาน องค์กร

ส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีอย่างยั่งยืน  องค์กร ชุมชนและสังคม

เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนและสังคม  องค์กร ชุมชนและสังคม

ลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของพนักงาน  คนทำงาน องค์กร

ลดอัตราการลาออกและดึงดูดคนเก่งเข้าร่วมงาน  คนทำงาน องค์กร




ดำเนินงานองค์กรสุขภาวะแล้ว?

Happy Workplace ชวนองค์กรที่ดำเนินงานแก้ปัญหาสุขภาวะ มาเป็นเครือข่ายองค์กรสุขภาวะ ด้วยการสร้างข้อมูลโครงการองค์กรสุขภาวะของท่าน


ดูข้อมูลโครงการขององค์กรสุขภาวะ

Back to top

สร้าง Happy Workplace ได้อย่างไร

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

  • เริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจและเรียนรู้ถึงความสำคัญของการมีสุขภาวะในองค์กร
  • จัดกิจกรรมหรือการอบรมเพื่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
  • สื่อสารประโยชน์และความสำคัญขององค์กรสุขภาวะอย่างชัดเจน

ตัวอย่าง: การจัดสัมมนาเกี่ยวกับความสุขในที่ทำงาน หรือการเผยแพร่นโยบายองค์กรสุขภาวะ

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

  • สร้างทีมผู้นำหรือคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  • กำหนดบทบาทและแต่งตั้งคณะทำงานโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร
  • ให้การอบรมและพัฒนานักสร้างสุของค์กร เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาวะ หลักสูตรนักสร้างสุของค์กร ระดับต้น
  • สนับสนุนให้ผู้บริหารมีบทบาทเป็นตัวอย่างที่ดี (Role Model)

ตัวอย่าง: การจัดตั้งทีม “Happy Workplace Committee” ประกาศนโยบาย องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) ในองค์กรและบทบาทคณะทำงาน

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

  • สำรวจและประเมินสถานะปัจจุบันขององค์กรในด้านสุขภาวะ
  • ใช้เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ เพื่อระบุปัญหาและความต้องการของพนักงาน
  • วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน

ตัวอย่าง: การประเมินความสุขตามแนวทาง Happy 8 หรือการสำรวจระดับความเครียดในที่ทำงาน

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

4

วางแผนเชิงกลยุทธ์

วางแผนเชิงกลยุทธ์

  • กำหนดเป้าหมายของการสร้างองค์กรสุขภาวะให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
  • วางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน เช่น กิจกรรมที่จะดำเนินการ ทรัพยากรที่ต้องใช้ และตัวชี้วัดความสำเร็จ

ตัวอย่าง: การกำหนดแผนงานเพื่อส่งเสริมความสุข 8 ด้าน (8 Happy) / การตั้งเป้าหมายลดอัตราการลาออก หรือเพิ่มคะแนนความพึงพอใจของพนักงาน

TIPS

การกำหนดแผนงานหรือการดำเนินโครงการตามแนวทาง Happy 8 ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบ 8 ด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กร ข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจเลือกกิจกรรมประกอบด้วย

  1. ผลจากการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร (ก่อนดำเนินการ)
  2. นโยบาย หรือแผนสวัสดิการและการพัฒนาบุคลากรประจำปีขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการองค์กรสุขภาวะ

TIPS

มีหลายกิจกรรมใน Happy 8 ที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ เช่น Happy Brain การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคนทำงาน Happy Money กิจกรรมส่งเสริมการออมเงิน หรือตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าในที่ทำงาน

TIPS

ออกแบบกิจกรรมที่ผสมผสานแต่ละ Happy (สนใจทดลองทำกิจกรรม ลงทะเบียน) นอกจากนั้นการออกแบบที่คำนึงถึงช่วงวัยของกลุ่มเป้าหมายในองค์กรจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


Toolเลือกปัญหาที่พบในองค์กรเพื่อให้ AI ช่วยแนะนำเป้าหมาย

5

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ด้านกิจกรรม

  • ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ โดยออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร
  • เน้นการสร้างสมดุลในด้านสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจของพนักงาน
  • สร้างพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ

ตัวอย่าง: การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย เช็คสุขภาพจิต เวิร์กชอปการเงิน หรือมุมพักผ่อนในที่ทำงาน

ด้านการสื่อสารและสร้างแรงจูงใจ

  • สื่อสารนโยบายเป้าหมายและความสำเร็จของโครงการให้พนักงานทุกคนรับทราบ
  • ใช้สื่อภายในองค์กร เช่น ป้ายประกาศ อีเมล สื่อโซเชียล หรือ intranet เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วม
  • จัดกิจกรรมเชิงรุก เช่น การแข่งขัน การมอบรางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจ

ตัวอย่าง: การมอบรางวัล "พนักงานสุขภาพดี" หรือ "ทีมงานสุขใจ"

Toolเครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม
DownloadTemplate แผนกิจกรรม DownloadTemplate ประเมินผลกิจกรรม DownloadTemplate รายงานผลกิจกรรม

6

ติดตามประเมินผล

ติดตามประเมินผล

ติดตาม

  • ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน
  • ระหว่างทางมีการติดตามความก้าวหน้า กระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานตามแผน ปรับแผน หรือให้การสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ประเมินผลรายกิจกรรม

  • ประเมินทั้งผลลัพธ์ (Outcomes) และกระบวนการ (Process)

ประเมินผลองค์กร

  • สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงในองค์กรหลังการดำเนินการ (Post)

ตัวอย่าง: การจัดทำรายงานผลการสำรวจความสุขของพนักงานเป็นระยะ

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

  • รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน เพื่อปรับปรุงกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ

ตัวอย่าง: การวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของพนักงานจากแบบสอบถามความพึงพอใจ และปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการของพนักงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการดูแลสุขภาวะในระยะยาวโดยบูรณาการแนวคิดองค์กรสุขภาวะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
  • สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในองค์กรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
  • สร้างความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมและพัฒนาโครงการใหม่ที่ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลง

ตัวอย่าง: การจัดกิจกรรมสุขภาวะเป็นประจำทุกปี และการจัดตั้งแผนกสุขภาวะในองค์กร

ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรสุขภาวะ

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรสุขภาวะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่:

  1. การสนับสนุนจากผู้บริหาร ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนทรัพยากร การมีส่วนร่วมในกิจกรรม และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคลากร การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่องค์กรต้องการ
  2. โครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน องค์กรควรกำหนดบทบาทหน้าที่และผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนให้ชัดเจน ควรมีทีมงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง และอาจมีคณะกรรมการที่ปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  3. การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาควรเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่ประสบความสำเร็จได้ง่าย เพื่อสร้างความภูมิใจและแรงจูงใจแก่ทีมงาน จากนั้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความผูกพันและทำให้การพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
  4. การติดตามและประเมินผล ควรมีการประเมินผลเป็นระยะ เช่น การถอดบทเรียนหลังจากกิจกรรม (AAR) และการประเมินผลในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในระยะต่อไปให้ดียิ่งขึ้น



Back to top

แนะนำหนังสือและสื่อที่เกี่ยวกับ Happy Workplace

คู่มือการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร

คู่มือการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร

เรียนรู้วิธีจัดการสุขภาวะในที่ทำงานอย่างครบวงจร เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี องค์กรของคุณจะไม่เพียงแต่เติบโตอย่างมั่นคง แต่ยังกลายเป็นสถานที่ทำงานที่น่าอยู่และน่าภูมิใจ

ดูเพิ่มเติม
หนังสือ "HR & Happy Workplace 8"

หนังสือ "HR & Happy Workplace 8"

ตัวช่วยให้ HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล นำพาคนในองค์กรให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายด้วยกันอย่างกลมกลืนและมีความเป็นตัวตนขององค์กรอย่างแท้จริง

ดูเพิ่มเติม
หนังสือ "ทำงานร่วมกันให้ Happy"

หนังสือ "ทำงานร่วมกันให้ Happy"

เรียนรู้หลักการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานในทุกระดับ เพื่อนำไปสู่ทีมเวิร์คที่ดีและบรรยากาศการทำงานที่มีความสุข

ดูเพิ่มเติม
หนังสือ "มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ"

หนังสือ "มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ"

ประสบการณ์ในความมุ่งมั่นสร้างองค์กรแห่งความสุขจาก 8 องค์กร พร้อมตัวอย่างกิจกรรมสร้างสุขใจให้คนทำงาน

ดูเพิ่มเติม
หนังสือ "ร้อยความคิด...สร้างสุของค์กร"

หนังสือ "ร้อยความคิด...สร้างสุของค์กร"

เรียนรู้ประสบการณ์จากสถานประกอบการมากมายที่แบ่งปันความคิด แนวทาง และนโยบาย "สร้างสุขในองค์กร"

ดูเพิ่มเติม
10 Package ปลอดภัยดี สุขภาพดี งานดี มีความสุข ในสถานประกอบการ

10 Package ปลอดภัยดี สุขภาพดี งานดี มีความสุข ในสถานประกอบการ

ชุดความรู้สุขภาพ 10 เรื่อง กลยุทธ์ที่จะทำให้ชีวิตวัยทำงานมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นแนวทางให้สถานประกอบการนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมิติต่างๆ

ดูเพิ่มเติม


Back to top