รวบรวมวิธีการดูแลสมองให้สุขภาพดีอยู่เสมอ ชะลอความเสื่อม และฉลาดเฉียบคมพร้อมทำงานให้สนุกทุกวัน
ควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ให้อยู่ในระดับดีอย่างต่อเนื่อง เพราะคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอดเวลามีความเสี่ยงในการที่เส้นเลือดเล็กๆ ในสมองจะถูกทำลายได้
ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นสารอาหารที่ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ภาวะอ้วนลงพุงทำให้เสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม
เอื้อเฟื้อผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ควรมีกิจกรรมเข้าสังคม พบปะญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงอย่างสม่ำเสมอ
ทำกิจกรรมทางกายที่ช่วยชะลอการเสื่อมของสมองและร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ ฯลฯ
เมื่อเผชิญสภาพแวดล้อมใหม่สมองจะมีการพัฒนาความยืดหยุ่น มีการวิเคราะห์และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น ลองเขียนหนังสือด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ฝึกทำอาหารเมนูใหม่ เรียนภาษาใหม่ เปลี่ยนเส้นทางใหม่จากบ้านไปที่ทำงาน เยี่ยมชมสถานที่ใหม่ที่ยังไม่เคยไป ฟังเพลงแนวอื่นๆ บ้าง หรือการพบปะผู้คนใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น
การเล่มเกมต่างๆ เช่น บอร์ดเกม เกมกระดานต่างๆ หมากรุก เกมปริศนาอักษรไขว้ เกม Sudoku เกมปริศนาคำทาย หรือการต่อจิ๊กซอร์ ช่วยให้สมองพัฒนา กระตุ้นการเรียนรู้ เพิ่มความจำ ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม และช่วยพัฒนาสมองส่วนที่ใช้ในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น
โดยการทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ จิตรกรรม ประวัติศาสตร์ การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การทำเว็บไซต์ ทำบล็อกต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมที่ชอบทำให้เกิดความอยากรู้ อยากทดลองทำ อยากทำให้ได้ และอยากพัฒนาตนเองในเรื่องนั้นๆ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ทำงานคล่องแคล่วว่องไวมากขึ้น
การหายใจลึกๆ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและระดับออกซิเจน ซึ่งจะช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การหายใจลึกๆ 10 – 15 นาทีทุกวันมีประโยชน์ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหายใจลึกๆ ก่อนและหลังการทำงานช่วยลดระดับความวิตกกังวลลงได้ โดยการหายใจเข้าออกลึกๆ หรือที่เรียกว่า หายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง จะทำให้ได้รับออกซิเจนอย่างสมดุล ร่างกายจะทำงานเป็นปกติ ส่งผลให้มีสมาธิ ใจเย็น และสมองแจ่มใสขึ้น ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องโดยหายใจเข้าลึกๆ นับ 1-4 อย่างช้าๆ ให้รู้สึกว่าหน้าท้องพอง แล้วผ่อนลมหายใจออก โดยนับค้างไว้ 1-8 ไล่ลมหายใจออกให้หมดจนท้องแฟบ ทำติดต่อกันประมาณ 4-5 ครั้ง ทุกครั้งที่รู้สึกเครียด หรือไม่สบายใจจะช่วยให้ผ่อนคลายได้
ระหว่างวันที่แสนวุ่นวายและเร่งรีบ ลองจินตนาการว่าพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสดใส ไม่ว่าจะเป็นภูเขา แม่น้ำ ทะเล ป่าไม้ และอาจเปิดเพลงเบาๆ ที่มีเสียงนกร้องคลอไปกับเสียงน้ำไหล หรือนึกถึงความสุขที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แล้วรู้สึกขอบคุณสิ่งดีๆ หรือคนดีๆ ที่ได้พบเจอมา จะทำให้สมองได้รู้สึกพักและพร้อมเผชิญกับทุกปัญหาอีกครั้งอย่างมั่นใจ
การนอนหลับที่เพียงพอเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการพัฒนาสมอง เพื่อให้เซลล์สมองได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอฟื้นคืนพลังกลับมา ควรปรับห้องนอนให้มืดที่สุด หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นก่อนนอน เช่น งดดื่มชา กาแฟ หรือเล่นมือถือ การนอนที่มีคุณภาพจะทำให้มีสมาธิ มองโลกในแง่ดี ผ่อนคลาย และช่วยลดภาวะเครียดได้
ประเภทสื่อ : Infographics
ผู้เขียน :
ที่มา :
ประเด็นสุขภาวะ → ลดการบริโภคยาสูบลดการบริโภคแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติดเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุลเพิ่มกิจกรรมทางกายเพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์
ประเด็น Happy 8 → Happy BodyHappy RelaxHappy BrainHappy Soul