Healthy Meeting ประชุมได้งานดี ได้สุขภาพดี

How to จัดประชุม WalkShop เดินดี งานดี สุขภาพดี

WalkShop นวัตกรรมการประชุมที่ได้รับความนิยม ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมสุขภาพพนักงาน

ภาพประกอบ

แนวทางการจัดกิจกรรม WalkShop ที่องค์กรสามารถนำไปปรับใช้

1. การเดินประชุมระดมความคิด (Brainstorming Walking Session)

รูปแบบกิจกรรม

  • จัดกลุ่มขนาดเล็ก 3-5 คน ให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้
  • กำหนดโจทย์หรือคำถามสำหรับการระดมความคิดไว้ล่วงหน้า
  • ระยะเวลาเดิน 30-45 นาที
  • ระยะทาง 1-2 กิโลเมตร

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • เส้นทางเดินที่ชัดเจน อาจทำเป็นแผนที่หรือเส้นประสีบนพื้น
  • ธงหรือสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม
  • สมุดโน้ตขนาดเล็กและปากกาสำหรับจดไอเดีย
  • ผู้นำทางและผู้นำการสนทนา

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์และโจทย์ให้กลุ่มทราบก่อนเริ่มเดิน
  2. มีผู้นำทางถือธงประจำกลุ่ม และผู้นำคุยที่คอยกระตุ้นการสนทนา
  3. ผู้เข้าร่วมแต่ละคนแนะนำตัวสั้น ๆ ขณะเดิน
  4. ผู้นำคุยเริ่มประเด็นที่ต้องการระดมความคิด
  5. ระหว่างทาง มีจุดพักให้จดไอเดียและสรุปประเด็นย่อย
  6. เมื่อกลับมาถึงจุดหมาย ให้สรุปผลการพูดคุยร่วมกัน

2. เดินประชุมติดตามความคืบหน้า (Progress Walking Update)

รูปแบบกิจกรรม

  • เหมาะสำหรับการประชุมทีมประจำสัปดาห์
  • จำนวนผู้เข้าร่วม 5-8 คน จากทีมเดียวกัน
  • ระยะเวลา 20-30 นาที
  • ระยะทาง รอบอาคารสำนักงานหรือสวนใกล้เคียง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. แต่ละคนเตรียมสรุปความคืบหน้าของงานไม่เกิน 2 นาที
  2. เดินเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนตำแหน่งการเดินเพื่อให้ได้คุยกับทุกคน
  3. หัวหน้าทีมหรือผู้ประสานงานจดประเด็นสำคัญในสมุดหรือแอปพลิเคชัน
  4. เมื่อเสร็จสิ้นการเดิน ถ่ายรูปเป็นกลุ่มเพื่อความเป็นทีม
  5. ส่งสรุปประเด็นสำคัญและภาระงานให้ทุกคนทางอีเมลหรือแอปแชททีม

3. WalkShop แก้ปัญหา (Problem-Solving Walk)

รูปแบบกิจกรรม

  • จำนวนผู้เข้าร่วม 4-6 คน จากฝ่ายงานต่าง ๆ
  • ระยะเวลา 40-60 นาที
  • เส้นทาง กำหนดจุดพักทุก ๆ 10 นาทีเพื่อสรุปความคิด

การเตรียมการ

  1. กำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน
  2. แบ่งขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็น 3-4 ส่วน (นิยาม, วิเคราะห์, เสนอแนวทาง, ตัดสินใจ)
  3. เตรียมการ์ดหรือกระดาษโน้ตสำหรับแต่ละจุดพัก

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ผู้นำกิจกรรมชี้แจงปัญหาและขั้นตอนการเดิน
  2. เริ่มเดินช่วงที่ 1 นิยามและทำความเข้าใจปัญหา
  3. จุดพักที่ 1 เขียนนิยามปัญหาลงบนการ์ด
  4. เดินช่วงที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
  5. จุดพักที่ 2 เขียนสาเหตุที่เป็นไปได้ลงการ์ด
  6. เดินช่วงที่ 3 คิดแนวทางแก้ไข
  7. จุดพักที่ 3 เขียนแนวทางแก้ไขลงการ์ด
  8. กลับมาประชุมสรุปเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไข

4. ประชุมพูดคุยหารือ (Walking One-on-One Meeting)

รูปแบบกิจกรรม

  • การพูดคุยระหว่างหัวหน้ากับลูกทีมหรือระหว่างเพื่อนร่วมงาน
  • ระยะเวลา 15-20 นาที
  • ระยะทาง เดินไปยังจุดหมายที่มีประโยชน์ เช่น ร้านกาแฟ หรือสถานที่ทำงานอื่น

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. นัดหมายล่วงหน้าและแจ้งประเด็นที่ต้องการคุย
  2. เลือกเส้นทางที่ไม่มีสิ่งรบกวนมากนัก
  3. ระหว่างทางให้มีการสลับกันพูดและฟังอย่างตั้งใจ
  4. สรุปประเด็นสำคัญเมื่อถึงจุดหมาย

5. การประชุมเดินธรรมชาติ (Green Walk Meeting)

รูปแบบกิจกรรม

  • จัดในสวนสาธารณะหรือพื้นที่ธรรมชาติใกล้สำนักงาน
  • จำนวนผู้เข้าร่วม 5-10 คน
  • ระยะเวลา 45-60 นาที
  • เน้นหัวข้อเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์หรือวิสัยทัศน์

กระบวนการ

  1. เริ่มต้นด้วยการหายใจลึก ๆ และทำสมาธิสั้น ๆ (2-3 นาที)
  2. ตั้งคำถามหลักสำหรับการประชุม
  3. แบ่งกลุ่มย่อย 2-3 คน เดินแยกกันในเส้นทางที่กำหนด
  4. กำหนดจุดนัดพบเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกลุ่มย่อย
  5. กลับมารวมกลุ่มเพื่อสรุปแนวคิดและข้อตกลงร่วมกัน

ข้อแนะนำในการจัด WalkShop ให้ประสบความสำเร็จ

1. การเตรียมการเบื้องต้น

  • สำรวจเส้นทางล่วงหน้า ตรวจสอบความปลอดภัยและระยะทาง
  • แจ้งผู้เข้าร่วมให้สวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่สะดวกต่อการเดิน
  • เตรียมน้ำดื่มและจุดพักสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย

2. การจัดกลุ่ม

  • กลุ่มขนาดเล็ก (3-4 คน) เหมาะกับการระดมความคิดสร้างสรรค์
  • กลุ่มขนาดกลาง (5-8 คน) เหมาะกับการแจ้งข้อมูลหรือติดตามความคืบหน้า
  • เลือกขนาดกลุ่มตามความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และจำนวนผู้เข้าร่วม

3. การประเมินผล

  • จัดให้มีการประเมินความพึงพอใจหลังจัดกิจกรรม
  • สอบถามข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงในครั้งต่อไป
  • ติดตามผลลัพธ์ของการประชุมว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

4. การทำให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

  • จัดตารางให้มีการทำ WalkShop อย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง
  • สร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของกิจกรรมกับผู้บริหารและพนักงาน
  • ส่งเสริมด้วยการให้รางวัลหรือคำชมเชยกับทีมที่นำไปปฏิบัติ

เครื่องมือแนะนำ:


ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มกิจกรรมทางกาย

ประเด็น Happy 8 → Happy Body

เครื่องมือสร้างองค์กรสุขภาวะ

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

ReadHappy Workplace คืออะไร

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

5

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

Toolเครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม
DownloadTemplate แผนกิจกรรม
DownloadTemplate รายงานผลกิจกรรม

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร