กินต้านโรคฮิตคนทำงาน

ตรวจสุขภาพประจำปีต้องมีความหมาย “ดูผลตรวจร่างกาย แล้วเปลี่ยนการกิน ลาก่อนโรค NCDs”

นำการตรวจสุขภาพประจำปีมาใช้รณรงค์ให้พนักงานเห็นความสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ดีต่อสุขภาพ

ภาพประกอบ

ตรวจสุขภาพประจำปีต้องมีความหมาย

กิจกรรม “ดูผลตรวจร่างกาย แล้วเปลี่ยนการกิน ลาก่อนโรค NCDs”

1. ขั้นตอนเตรียมการ

กำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรม เพื่อศึกษาข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน วางแผนการดำเนินงาน และศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพ

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

  • ประชาสัมพันธ์แจ้งเกณฑ์และขั้นตอนในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • รับสมัครพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม “ดูผลตรวจร่างกาย แล้วเปลี่ยนการกิน ลาก่อนโรค NCDs” ที่จะมีการเปรียบเทียบผลการตรวจสุขภาพของปีที่แล้วและปีนี้
  • ก่อนการตรวจสุขภาพประจำปีของปีปัจจุบัน ให้ผู้ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ทำภารกิจ Challenge ต่าง ๆ ด้าน “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร” เพื่อพัฒนาสุขภาพให้ดีขึ้น ก่อนการตรวจสุขภาพประจำปีของปีปัจจุบันที่กำลังจะมาถึง
  • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง “อาหารสุขภาพ” ให้กับพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประจำวัน เช่น ออกกำลังกายก่อนเริ่มงาน จัดทำจุดออกกำลังกายและอุปกรณ์ออกกำลังกายในสถานประกอบการในช่วงพัก
  • จัดกิจกรรมเสริมอื่น ๆ เช่น Good Health Day กิจกรรมวันสุขภาพดี ประกอบด้วยฐานเรียนรู้ด้านสุขภาพ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เป็นต้น

3. ขั้นตอนการสรุปผลการทำกิจกรรม

เปรียบเทียบผลการตรวจสุขภาพประจำปีพนักงานปีที่แล้วกับปีนี้ หลังจากที่ผ่านการร่วมกิจกรรมทำภารกิจ Challenge ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและพฤติกรรมสุขภาพด้านต่าง ๆ

4. จัดกิจกรรมมอบรางวัลให้กำลังใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ประกาศผลบุคคลต้นแบบที่มีผลการตรวจสุขภาพที่ดีขึ้นจากปีก่อน

5. สื่อสารวิธีการของบุคคลต้นแบบ

ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ และระบบการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้บุคลากรลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เคล็ดลับออกแบบกิจกรรม

สร้างกระแสให้ตื่นตัวจากผลตรวจสุขภาพประจำปีของตนเอง เน้นให้เห็นประโยชน์ของการตรวจสุขภาพก่อนการเป็นโรค การอ่านผลตรวจเพื่อตระหนักรู้ในปัจจัยเสี่ยงของตนเอง แล้วชักชวนให้พนักงานที่มีความเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค

หลังจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว จัดกิจกรรมปูพรมให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อแนะนำวิธีการกลับมาดูแลตัวเอง เช่น เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาออกกำลังกาย เคล็ดลับการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การเลิกดื่มสุรา และเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น


ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล

ประเด็น Happy 8 → Happy Body

เครื่องมือสร้างองค์กรสุขภาวะ

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

ReadHappy Workplace คืออะไร

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

5

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

Toolเครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม
DownloadTemplate แผนกิจกรรม
DownloadTemplate รายงานผลกิจกรรม

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร