กินต้านโรคฮิตคนทำงาน


วัยทำงานเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสัดส่วนสูงสุดของกลุ่มอายุอื่น สาเหตุหนึ่งมาจากพฤติกรรมการกินไม่เหมาะสม

ภาพประกอบ

วัยทำงานเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรค NCDs

วัยทำงานมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs (Non-communicable Diseases) เพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตคนวัยทำงาน กลุ่มวัยทำงานอายุ 18-59 ปี มีอัตราป่วยด้วยโรคกลุ่ม NCDs สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิต เช่น กินอาหารรสจัด ไม่ออกกำลังกาย และนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นต้น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่ากลุ่มวัยทำงานอายุ 15- 59 ปี เสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อในสัดส่วนที่สูงสุดของกลุ่มอายุอื่น ในประชากรไทย

โดยกลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย มีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตราว 300,000 - 400,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี

ถูกปากแต่สะเทือน “ไต หัวใจ หลอดเลือด”

พบว่าพฤติกรรมการกินของคนวัยทำงานที่มีความเร่งรีบ ชอบกินอาหารรสจัด ติดกินหวานจัด มันจัด เค็มจัด การต้องออกไปทำงานทุกวัน ทั้งอาหารตามสั่งตอนกลางวันและอาหารถุงตอนเย็นล้วนมันและเค็ม ทำงานเหนื่อยมากก็ต้องได้เครื่องดื่มหวาน ๆ ชา กาแฟกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น ล้วนส่งผลต่อไต หัวใจ หลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่โรคไม่ติดต่อ NCDs ที่รู้จักกันดี ทั้งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ฯลฯ

ลดเสี่ยงเสียชีวิต ลดการลางาน ลดต้นทุน

เรื่องใหญ่ขนาดนี้องค์กรคงนิ่งนอนใจไม่ได้ ลุกขึ้นมาคนละไม้คนละมือป้องกันคนทำงานที่เป็นกำลังการผลิตสำคัญขององค์กรและเป็นมันสมองของประเทศจากความเจ็บป่วยเรื้อรังนี้ การป้องกันโรค NCDs สำหรับพนักงานในองค์กร สามารถทำได้ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยองค์กรสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และสร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เน้นเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ แต่สำคัญที่สุด ด้วยการลด หวาน มันเค็มลงให้ได้มากที่สุด และเลือกกินอาหารให้สมดุล

มีผลการศึกษาพบว่าการใช้โปรแกรมและนโยบายดูแลสุขภาพพนักงานสามารถลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อ NCDs และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยตรงเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เบี้ยประกัน และค่าสินไหมทดแทนของพนักงาน รวมถึงส่งผลต่อต้นทุนทางอ้อม เช่น ลดการขาดงานและลางาน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในที่ทำงานจึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สถานประกอบการควรให้ความสำคัญเป็นกลยุทธ์ลำดับต้น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ทั้งต่อตัวพนักงาน ครอบครัว สถานประกอบการ และสังคม


เนื้อหาในหัวข้อนี้

ขั้นตอนดำเนินการ


ตัวอย่างกิจกรรม


เครื่องมือสนับสนุนการทำงาน


เครื่องมือประเมินตนเอง


Case study


เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง



ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล

ประเด็น Happy 8 → Happy Body

เครื่องมือสร้างองค์กรสุขภาวะ

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

ReadHappy Workplace คืออะไร

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

5

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

Toolเครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม
DownloadTemplate แผนกิจกรรม
DownloadTemplate รายงานผลกิจกรรม

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร