เติมแรงใจ ป้องกันภาวะหมดไฟ (Burnout)

กิจกรรม “ส่งเสริมสุนทรียะแก้ภาวะหมดไฟ (Burnout)”

กิจกรรมประกวดภาพถ่ายแห่งความสุข ตัวอย่างกิจกรรม “ส่งเสริมสุนทรียะแก้ภาวะหมดไฟ (Burnout)” ที่ง่ายและทุกคนมีส่วนร่วมได้

ภาพประกอบ

ตัวอย่างกิจกรรม “ส่งเสริมสุนทรียะแก้ภาวะหมดไฟ (Burnout)”

กิจกรรม “ประกวดภาพถ่ายแห่งความสุข”

1. จัดกิจกรรมประกวดภาพถ่ายแห่งความสุข โดยใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายแบบง่าย ๆ ไม่ได้เน้นเทคนิคการถ่ายภาพ แต่มุ่งใช้การถ่ายภาพเป็นเครื่องมือสร้างความสุข เช่น การสังเกตเห็นความงามของธรรมชาติ การเฝ้าดูการเติบโตและอิริยาบถน่ารัก ๆ ของสัตว์เลี้ยงที่รัก และใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อในการพูดคุย เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนองค์กร

2. เชิญชวนบุคลากรร่วมส่งประกวดภาพถ่ายแห่งความสุข พร้อมคำบรรยายสั้น ๆ ถึงความสุขในภาพ เช่น ภาพสัตว์เลี้ยงแสนรัก ภาพดอกไม้ที่ปลูก ภาพธรรมชาติที่ชอบ

3. เปิดพื้นที่สำหรับส่งภาพถ่ายที่ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ เช่น กรุ๊ปไลน์, Google Drive, Facebook Group

4. เปิดให้คนในองค์กร (ทั้งคนที่ส่งภาพเข้าประกวด และคนที่ไม่ได้ส่ง) ร่วมลงคะแนน/โหวตภาพถ่ายที่ชื่นชอบ โดยแต่ละคนสามารถโหวตได้ 1 ภาพ, 5 ภาพ, 10 ภาพ หรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะกำหนด

5. จัดนิทรรศการภาพถ่ายแห่งความสุข โดยจัดแสดงภาพถ่ายที่ได้คะแนนโหวตสูงสุด 10 ภาพ (อาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่าแล้วแต่จะกำหนด) และภาพที่ส่งเข้าร่วมการประกวดทุกภาพ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสุขในองค์กร

6. จัดกิจกรรม “วันแบ่งปันความสุข” ชวนผู้ที่ร่วมส่งภาพเข้าประกวดมาล้อมวงบอกเล่าเรื่องราวความสุขจากภาพ เช่น ภาพนี้สื่อถึงความสุขของเราอย่างไร เกิดอะไรขึ้นในภาพ หรือภาพนี้มีความหมายกับเราอย่างไร โดยมีกระบวนการจัดกิจกรรมดังนี้

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมถือภาพถ่ายของตนเอง นั่งล้อมเป็นวงกลม เมื่อได้ยินเสียงระฆัง ให้ลุกขึ้นเดินอย่างอิสระภายในวงกลม พอได้ยินเสียงระฆังให้หยุด แล้วผลัดกันแนะนำตัวกับคนตรงหน้า เช่น ชื่อเล่น บ้านเกิด แผนก สีที่ชอบ อาหารที่ชอบ งานอดิเรก ทำซ้ำอีก 3-4 รอบแล้วนั่งลง
  • ทำสมาธิร่วมกัน 5 นาที ด้วยการหลับตา ใครหลับตาแล้วอึดอัดให้มองต่ำหรือมองพื้น สูดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ ถ้าได้ยินเสียงอะไรก็เพียงรับฟัง ถ้ามีความคิดหรือความรู้สึกเกิดขึ้น เช่น ง่วง อึดอัด เบื่อ กังวล เหนื่อย ก็เพียงรับรู้ ไม่ต้องปฏิเสธหรือกดไว้
  • แบ่งกลุ่มย่อย กลุ่มละ 2-5 คน ตามความเหมาะสมของจำนวนคนที่เข้าร่วม โดยให้สมาชิกในกลุ่มมาจากต่างแผนกกัน หรืออาจจะจัดกลุ่มตามประเภทของภาพถ่าย เช่น กลุ่มภาพสัตว์เลี้ยง กลุ่มภาพธรรมชาติ กลุ่มภาพคาเฟ่ แล้วให้แต่ละคนผลัดกันบอกเล่าเรื่องราวความสุขจากภาพถ่ายของตนเองให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
  • แต่ละกลุ่มเลือกภาพและเรื่องของเพื่อนสมาชิกที่รู้สึกประทับใจ กลุ่มละ 1 ภาพ แล้วให้ตัวแทนกลุ่ม (ที่ไม่ใช่เจ้าของภาพที่ถูกเลือก) บอกเล่าเรื่องราวความสุขจากภาพที่ได้ฟังจากเพื่อน พร้อมบอกความประทับของกลุ่มที่เลือกภาพนี้ให้เพื่อนฟังในกลุ่มใหญ่
  • มอบรางวัลภาพถ่ายที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด 10 อันดับแรก (หรือแล้วแต่กำหนด)

เคล็ดลับการออกแบบกิจกรรม

ใช้กิจกรรมเป็นสื่อให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเยียวยาจิตใจซึ่งกันและกัน องค์กรขนาดเล็กสามารถจัดร่วมกันทั้งองค์กร ถ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ อาจแยกจัดเป็นแผนกหรือฝ่าย เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้พูดคุยแลกเปลี่ยน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ออกแบบกิจกรรมหลากหลายทำได้ง่าย เน้นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ๆ ตอบโจทย์ภาวะหมดพลังใจของคนทำงานที่มาจากหลายสาเหตุ และตอบสนองคนหลากหลายที่มีจริตความชอบต่างกัน


ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์

ประเด็น Happy 8 → Happy RelaxHappy SoulHappy Society

เครื่องมือสร้างองค์กรสุขภาวะ

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

ReadHappy Workplace คืออะไร

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

5

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

Toolเครื่องมือออกแบบโครงการ
DownloadTemplate แผนกิจกรรม
DownloadTemplate รายงานผลกิจกรรม

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร