องค์กรสามารถป้องกันและดูแลพนักงานจากภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเกิดจากความเครียดเรื้อรังจากที่ทำงานได้หลากหลายวิธี
รายงานวิจัยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยว่า คนวัยทำงานในเมืองกรุง 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) และ 57% อยู่ในภาวะความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ ขณะที่ Gen Z กำลังตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17%
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากที่ทำงาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ กลายเป็นภาวะหมดไฟในการทำงาน ผลที่ตามมาคือ ร่างกายและจิตใจอ่อนล้า หมดพลัง สูญเสียความกระตือรือร้นในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ และนำไปสู่การลาออกในที่สุด
จากการสำรวจระหว่างเดือนมีนาคม - กันยายน 2565 พบข้อความในสื่อโซเชียลมีเดียที่กล่าวถึงความเครียดจากการทำงานถึง 18,088 ข้อความ ในจำนวนนี้ต้องการลาออกถึง 54% สะท้อนถึงการขาดวิธีการจัดการชีวิตและการทำงานที่สมดุล ตอกย้ำแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตของวัยทำงานที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจาก Thaihealth Watch)
ทั้งนี้พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้คนทำงานเกิดภาวะหมดไฟ เช่น ภาระงานหนักและปริมาณงานมาก ต้องทำในเวลาเร่งรีบ ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ไม่ได้รับการตอบแทนหรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป รู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง
ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่แค่อาการเบื่อหรือไม่อยากทำงาน แต่เป็นภาวะทางสุขภาพที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา และไม่ใช่เพียงปัญหาส่วนบุคคล แต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กร การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาวะและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเพื่อบรรเทาภาวะหมดไฟ จึงไม่เพียงส่งผลดีต่อตัวพนักงาน แต่ยังส่งผลดีต่อองค์กรในภาพรวม เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดอัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover Rate of Employee) ตัวอย่างเช่น บริษัท อาม่า มารีน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจขนส่งทั้งในและต่างประเทศเผยว่า การดำเนินนโยบายดูแลสุขภาวะของพนักงานในบริษัท ช่วยให้อัตราการลาออกลดลงและอยู่ในอัตราต่ำ เมื่อเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันในตลาด โดยระดับบริหารและระดับหัวหน้างานอยู่ที่ 0.25 คน/ปี ระดับปฏิบัติการ 2.8 คน/ปี ขณะที่ธุรกิจเดียวกันอยู่ที่ 20+ คน/ปี
ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์
ประเด็น Happy 8 → Happy RelaxHappy SoulHappy Society