วัยทำงานเสี่ยงและเสียชีวิตด้วยโรค NCDs

ภาพประกอบ

“5 พฤติกรรมเสี่ยงวัยทำงานเสียชีวิตด้วยโรค NCDs”

วัยทำงานมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs (Non-communicable Diseases )เพิ่มมากขึ้น

โรค NCDs ทำให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจไทย 1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ Gross domestic product (GDP) โดยร้อยละ 91 (1.495 ล้านล้านบาท) ของความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่เกิดจากการขาดงานเป็นประจำ เนื่องจากอาการเจ็บป่วย หรือประสิทธิภาพของการทำงานลดลง

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด และการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชากรวัยทำงาน

สถานการณ์ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อ ก่อให้เกิดความสูญเสียด้านทรัพยากรบุคคล และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจขององค์กรและประเทศอย่างมากมาย เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นกลุ่มวัยทำงานที่เป็นกำลังการผลิตสำคัญ และเป็นมันสมองของประเทศมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนวัยทำงานให้มีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จะทำให้คนวัยทำงานมีสมรรถนะในการทำงานได้เต็มศักยภาพ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรและยกระดับการพัฒนาประเทศ”