วัยทำงานเสี่ยงและเสียชีวิตด้วยโรค NCDs

การป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการ “ออกกำลังกาย”

ภาพประกอบ

ยาขนานเอก “ออกกำลังกาย”

ให้ลดใช้ยา ป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อด้วยการ ”ออกกำลังกาย”

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคอ้วน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สำหรับจนท.สธ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสถานบริการทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุข ใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่มารับการรักษาพยาบาล เน้นการนำความรู้เรื่องการออกกำลังกาย มาใช้เพื่อการบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควบคู่กับการใช้ยา ซึ่งนับเป็นการลงทุนด้านสุขภาพที่ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูงและประชาชนสามารถทำได้ด้วยตนเองและให้ผลดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน

Diabetes Prevention Program (DPP) ได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,234 คน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน โดยให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ระดับน้ำตาลสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายโดยให้บริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำร่วมกับการออกกำลังกายในระดับปานกลางโดยเฉลี่ยประมาณ 150 นาที/สัปดาห์ พบว่า สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58

ดูเนื้อหาเรื่องนี้  กดดูเนื้อหา


ผู้เขียน : กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


หัวข้อเรียนรู้ → วัยทำงานเสี่ยงและเสียชีวิตด้วยโรค NCDs

ประเด็น 7+1 ของ สสส. → ลดการบริโภคยาสูบลดการบริโภคแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติดเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุลเพิ่มกิจกรรมทางกาย

ประเด็น Happy 8 → Happy Body