สร้างสถานที่ทำงานปลอดบุหรี่ ปัจจัยสำคัญในการช่วยให้พนักงานเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
สถานที่ทำงานปลอดบุหรี่มีส่วนสำคัญในการช่วยให้พนักงานเลิกบุหรี่ได้ จากงานวิจัยของแฉล้ม รัตนพันธุ์ และคณะ (2557) ที่ศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ทำงานในสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมากกว่าผู้ที่ทำงานในที่ไม่มีข้อจำกัดการสูบ แม้จะควบคุมปัจจัยด้านความตั้งใจและการบำบัดแล้วก็ตาม
1) กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร ห้ามสูบบุหรี่ทุกประเภทในพื้นที่ทำงาน
จัดทำนโยบายองค์กรปลอดบุหรี่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน โดยระบุเป้าหมายและแนวทางการควบคุมการสูบบุหรี่ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ และแสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการ เมื่อผู้บริหารลงนามรับรองแล้ว ต้องประชาสัมพันธ์ให้พนักงาน ลูกค้า และผู้มาติดต่อทุกคนรับทราบอย่างทั่วถึง
คู่มือแนะนำสำหรับสถานประกอบการ:
2) จัดตั้งคณะทำงานองค์กรปลอดบุหรี่
คณะทำงานจะมาช่วยทำงานตั้งแต่ร่วมกำหนดนโนบายกับผู้บริหารไปจนถึงการดำเนินงานและติดตามผล โดยสามารถจัดตั้งคณะทำงานองค์กรปลอดบุหรี่ได้ 2 วิธี คือ แต่งตั้งจากคณะทำงานที่มีอยู่แล้ว เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมหรือสวัสดิการ หรือจัดตั้งคณะใหม่โดยคัดเลือกจากพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความสนใจ และมีจิตสาธารณะ
3) สำรวจสถานการณ์และพฤติกรรมการบริโภคยาสูบขององค์กร
ทั้งจำนวนผู้สูบบุหรี่และความรู้เรื่องภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพ เพื่อนำข้อมูลมาประมวลวิเคราะห์เพื่อใช้กำหนดเป้าหมาย และวางแผนการจัดกิจกรรมในแผนปฏิบัติการต่อไป
เครื่องมือแนะนำ:
4) จัดทำแผนปฏิบัติการองค์กรปลอดบุหรี่
แผนควรมีการแสดงเป้าหมาย นโยบาย และแผนกิจกรรมที่ชัดเจน รวมถึงการประเมินผลและผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการดำเนินงาน สามารถนำข้อมูลจากการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการสูบบุหรี่มาออกแบบกิจกรรม โดยพิจารณาความพร้อมด้านงบประมาณ กำลังคน และเวลา
กิจกรรมในแผนปฏิบัติการเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกฝ่าย/ระดับในการทำกิจกรรมตามแผน ให้ความสำคัญกับการระดมความคิดเห็นของทุกฝ่าย และความเป็นเจ้าของร่วม กิจกรรมควรเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนทำได้และทำได้ทันที
คู่มือแนะนำสำหรับการจัดกิจกรรม:
5) ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
ควรมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานทราบ และจัดกิจกรรมตามแผนให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร ทั้งในเรื่องของผู้รับผิดชอบ ช่วงเวลา ระยะเวลาที่ใช้จัด และความเหมาะสมของสถานที่จัดงาน
กิจกรรมแนะนำ:
6) การติดตามประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงแผน
คณะทำงานควรติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จและปัญหาที่พบ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต้องหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข โดยปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน
เครื่องมือแนะนำ:
7) รักษามาตรฐานการดำเนินงานด้านการควบคุมการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง
จัดทำแบบสำรวจ/แบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การสูบบุหรี่ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีการควบคุมโดยชี้แจงให้เห็นบทลงโทษที่ชัดเจนเมื่อมีการฝ่าฝืน อาจตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานเป็นระยะ และมีการตั้งรางวัลให้ผู้แจ้งเบาะแสพนักงานที่ฝ่าฝืนนโยบาย สำหรับผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จควรประกาศให้เป็น “ต้นแบบผู้เลิกบุหรี่” โดยอาจมีการให้รางวัลหรือประกาศยกย่องชมเชย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจและไม่กลับไปสูบบุหรี่อีก
ประเด็นสุขภาวะ → ลดการบริโภคยาสูบ
ประเด็น Happy 8 → Happy Body