Family-Friendly Workplace ที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัว

เทรนด์องค์กรยุคใหม่เป็นมิตรกับครอบครัว ทำให้ผูกพันกับองค์กรเพิ่มขึ้น ลดการขาด ลา มาสาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ภาพประกอบ

วัยสร้างครอบครัวอยากทำงานใน Family-Friendly Workplace

การมีนโยบายหรือสวัสดิการที่เป็นมิตรต่อครอบครัว (Family-Friendly Workplace) กำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนวัยทำงานเลือกว่าจะทำงานกับองค์กรนั้นหรือไม่ หรือจะอยู่กับองค์กรนานแค่ไหน เพราะคนทำงานจำนวนไม่น้อยมีครอบครัวที่ต้องดูแล และให้คุณค่ากับการมีสมดุลระหว่างการทำงานและการดูแลครอบครัว หลายคนตกอยู่ใน “เจเนอเรชันแซนด์วิช” ที่ต้องดูแลทั้งลูกน้อยและพ่อแม่สูงวัยของตนเอง ขณะที่ลูกหลานที่เป็นโสดก็มักต้องรับหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในบ้าน คนทำงานในยุคนี้จึงมองหาการทำงานที่เอื้อต่อการดูแลครอบครัวไปพร้อมกัน

เครือข่ายสถานที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัว (Family-Friendly Workplace) รายงานว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการจ้างงานในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการเกษียณเมื่อไทยก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ อีกส่วนหนึ่งเป็นการเกษียณก่อนกำหนดเนื่องจากความจำเป็นในการดูแลครอบครัว ราวปีละ 3 แสนคน และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง โดยเริ่มออกจากตลาดแรงงานตอนอายุ 45 ปี

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้องค์กรยุคใหม่ต้องปรับตัว หันมาออกแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น เอื้อให้การทำงานสามารถดำเนินไปได้พร้อมกับการดูแลครอบครัวอย่างราบรื่น เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานของตนไว้ เช่น มีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ทำงานภายนอกสํานักงานหรือทํางานที่บ้าน (WFH) มีสวัสดิการวันลาดูแลลูกโดยได้รับค่าจ้าง เป็นต้น

เทรนด์องค์กรยุคใหม่เป็นมิตรกับครอบครัว

จากรายงาน Work and Family: Creating a family-friendly workplace จัดทำโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่านโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัวของพนักงานส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กรเพิ่มขึ้น ลดการขาด ลา มาสาย และมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่นบริษัทในอังกฤษที่เปิดให้พนักงานมีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น สามารถรักษาพนักงานไว้ได้ร้อยละ 76 เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานร้อยละ 73 และพนักงานมีความผูกพันกับองค์กรเพิ่มขึ้นร้อยละ 72

การปรับตัวของสถานประกอบการที่หันมาดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัวพนักงานกำลังเป็นเทรนด์ขององค์กรยุคใหม่ และถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะผลตอบแทนที่องค์กรได้รับกลับมา คือการเพิ่มศักยภาพให้กับภาคธุรกิจในการรักษาพนักงานของตนเอาไว้ และดึงดูดพนักงานใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาในองค์กร รวมทั้งเพิ่มผลิตภาพของพนักงาน เพราะเมื่อพนักงานไม่มีปัญหาเรื่องครอบครัวให้วิตกกังวลก็จะสามารถทุ่มเททำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรต่อไป


เนื้อหาในหัวข้อนี้

ขั้นตอนดำเนินการ


ตัวอย่างกิจกรรม


เครื่องมือสนับสนุนการทำงาน


เครื่องมือประเมินตนเอง


Case study


เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง



ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์

ประเด็น Happy 8 → Happy HeartHappy FamilyHappy Society

เครื่องมือสร้างองค์กรสุขภาวะ

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

ReadHappy Workplace คืออะไร

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

5

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

ออกแบบ ดำเนินกิจกรรม และสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ

Toolเครื่องมือสร้างแผนกิจกรรม
DownloadTemplate แผนกิจกรรม
DownloadTemplate รายงานผลกิจกรรม

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร