Healthy Canteen โรงอาหารลดหวาน มัน เค็ม ช่วยวัยทำงานสุขภาพดี

คู่มือปรับเปลี่ยนสู่โรงอาหารสร้างเสริมสุขภาพ Healthy Canteen ที่มีเมนูอาหารสุขภาพให้เลือกหลากหลายทุกวัน

ภาพประกอบ

โรงอาหารหรือ Canteen ที่บริษัทเป็นมากกว่าแค่สถานที่รับประทานอาหาร แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพราะพนักงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยโรงอาหารอย่างน้อย 1 มื้อ ไม่นับเครื่องดื่มและอาหารว่างต่าง ๆ ที่ต้องใช้เสริมพลังระหว่างมื้ออีกด้วย โรงอาหารที่ดีสะท้อนถึงความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวก และยังช่วยให้พนักงานได้รับสารอาหารครบถ้วนมีพลังแรงกายในการทำงานในแต่ละวันได้อย่างเข้มแข็ง

องค์กรห่วงใยใส่ใจการกินอยู่ของพนักงาน

หลังจากที่องค์กรกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน และจัด Workshop ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนชูเมนูอาหารสุขภาพที่ลดความหวาน มัน เค็ม อันเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคอื่น ๆ อีกมากมาย ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพจนหลายคนมองเห็นความสำคัญแล้ว แต่พนักงานคงไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นได้ หากโรงอาหารยังจำหน่ายแต่อาหารหวาน มัน เค็ม ขนมหวานนานาชนิด และน้ำหวานรูปแบบต่าง ๆ พนักงานก็คงมีสุขภาพดียาก จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนสู่โรงอาหารสร้างเสริมสุขภาพ Healthy Canteen ที่มีอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เลือกรับประทานจริง ๆ อย่างหลากหลายได้ทุกมื้อ

3 ปัจจัยความสำเร็จ Healthy Canteen

หลักสำคัญในการปรับเปลี่ยนโรงอาหารให้เป็นโรงอาหารสร้างเสริมสุขภาพ (Healthy Canteen) คือการปรับเปลี่ยนโรงอาหารให้เป็นแหล่งความรู้ และแหล่งที่พนักงานสามารถเลือกซื้ออาหารที่มีวิธีการปรุงหรือสัดส่วนที่ดีต่อสุขภาพมากินได้ในชีวิตจริง โดย Healthy Canteen จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก 3 ส่วน ได้แก่

1. คณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ทำหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยรับฟังความคิดเห็นและให้การสนับสนุนทั้งในส่วนของแม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร และพนักงานผู้ใช้บริการ เพื่อร่วมกันปรับเปลี่ยนโรงอาหาร และติดตามผลให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และผลสุขภาพของพนักงาน

2. แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร กลุ่มบุคคลสำคัญต่อกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่ Healthy Canteen และเป็นผู้นำเสนออาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับพนักงานและผู้ใช้บริการ ตลอดจนรักษามาตรฐานให้ยั่งยืนระยะยาว คณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพควรสร้างความเข้าใจถึงสาเหตุการปรับเปลี่ยนที่ต้องการให้ผู้มาใช้บริการและผู้ประกอบอาหารมีสุขภาพดีถ้วนหน้า หลีกเลี่ยงการบังคับโดยไม่ชี้แจงเหตุผล

3. พนักงานในองค์กร คณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานรับรู้ถึงความห่วงใยขององค์กร ชักชวนให้มาเลือกเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับการปรับเปลี่ยนในโรงอาหาร ตลอดจนเปิดรับข้อเสนอแนะและความต้องการเพิ่มเติมจากพนักงาน เพื่อให้เกิดความเป็นเจ้าของร่วม และความร่วมมือในการพัฒนาโรงอาหารสร้างเสริมสุขภาพไปด้วยกัน


เนื้อหาในหัวข้อนี้

ขั้นตอนดำเนินการ


ตัวอย่างกิจกรรม


เครื่องมือสนับสนุนการทำงาน


เครื่องมือประเมินตนเอง


Case study


เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง



ประเด็นสุขภาวะ → เพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล

ประเด็น Happy 8 → Happy Body

เครื่องมือสร้างองค์กรสุขภาวะ

1

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

สร้างการเรียนรู้ และความเข้าใจ องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)

ReadHappy Workplace คืออะไร

2

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาทีมงาน (นักสร้างสุของค์กร)

DownloadTemplate ตั้งคณะทำงาน

3

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาในองค์กร

Toolทำแบบประเมินคุณลักษณะองค์กรสุขภาวะ

7

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

ทบทวนและพัฒนากิจกรรมที่ดำเนินงาน

8

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร

ส่งเสริมความยั่งยืนในการเกิดวัฒนธรรมสร้างสุขขององค์กร